วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

Mission To The Moon Podcast: EP 145 - Burnout คืออะไร แก้ปัญหาอย่างไร

ที่มาภาพ: London Emergency Medicine Blog

ตอนเดินออกกำลังกายเช้านี้ ผมได้ฟังพอดแคสต์ช่อง Mission To The Moon เหมือนเดิม ที่เคยเล่าให้ฟังไปแล้วตอนนึงคือเรื่อง  Meditation X Productivity ซึ่งเช้านี้ได้ฟังพอดแคสต์ของคุณรวิศสามตอน แต่ตอนที่ฟังแล้วต้องนำมาคิดต่อมากที่สุดคือ เรื่องของอาการ Burnout หรืออาการหมดไฟของเหล่าพนักงานกินเงินเดือน ซึ่งพยายามสรุปให้คุณฟังได้เท่านี้ หากต้องการรายละเอียดที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถกดเข้าไปฟังได้เลยที่  Mission To The Moon Podcast: EP 145 - Burnout

การสังเกตอาการเบิร์นเอาท์หรือหมดไฟในออฟฟิศ
  1. Exhaustion เป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุด มาจากสภาพร่างกายที่เหนื่อยตลอดเวลา สมองล้า โดยอาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น การทำงานเยอะเกินไป พักผ่อนน้อยเกินไป หรืองานที่มีลักษณะต้องให้ตัวเองอยู่กับงานตลอดเวลา ตรงนี้จะขอให้สังเกตว่าคุณมีอาการเหนื่อยมากหรือไม่ที่จะพาตัวเองไปออฟฟิศ หรือพาตัวเองออกจากออฟฟิศ
  2. Depersonalisation อาการที่คุณมีความรู้สึกที่ว่างานที่ทำไม่ใช่เรื่องของคุณ ความภูมิใจกับงาน ความเชื่อมต่อกับงาน ความอยากทำงาน ความอยากต่อสู้กับงานหายไป ทำเพียงเพราะต้องทำ เพียงแค่นั้นใช่หรือไม่
  3. Inefficiency คือ คุณประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ถึงแม้ว่าจะทำงานในเรื่องเดิมที่เคยทำได้ดีก็ตาม
วิธีการแก้ปัญหาคือ
  1. คุณต้องกลับมาดูแลตัวเอง ดูแลสุขภาพตนเอง นอนที่เพียงพอหรือไม่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย การมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวเพื่อนฝูง ซึ่งกรณีหลังจะช่วยเพิ่มพลังบวกให้คุณได้เยอะมาก
  2. บันทึกกิจกรรมที่ทำแต่ละวัน เช่น การประชุม การพูดคุยกับใครก็ตาม แล้วให้คะแนนแต่ละกิจกรรม เพื่อดูว่ากิจกรรมไหนที่เราทำแล้วเป็นการเพิมพลังงานแก่ตัวเราเอง กิจกรรมไหนที่ได้คะแนนน้อยหรือติดลบทำแล้วได้แต่พลังทางลบ เราควรเลี่ยงกิจกรรมดังกล่าวเสีย เช่น การคุยกับคนที่คิดร้ายตลอดเวลา ก็จะช่วยลดกิจกรรมที่สูบพลังงานของเราไป
  3. เปลี่ยนทัศนคติงานของตัวเอง เช่น งานเยอะเพราะเราไม่ยอมปล่อยงานออกจากมือเราหรือไม่ ความกังวลว่าคนอื่นจะทำงานได้ไม่ดีเท่าตัวเอง 
  4. เนื้อหาสาระของงาน เหมาะกับตัวเราเองหรือไม่ เช่น เราชอบทำงานคนเดียว แต่กลับต้องมาทำงานที่ต้องสู้รบปรบมือกับคนอื่น มันจะทำให้เราต้องต่อสู้กับความรู้สึกนี้อยู่ตลอดเวลา
  5. งานที่ทำขัดความเชื่อเดิมของเราหรือไม่
  6. พยายามลดความเครียดที่เกิดจากงาน เช่น เสาร์อาทิตย์ห้ามทำงาน
ถ้าคุณเป็นหัวหน้าทีม ทำอย่างไรที่ป้องกันไม่ให้ลูกน้องเบิร์นเอาท์ได้
  1. หัวหน้าทีมต้องหาสัญญาณของการเบริน์เอาท์ เช่น การซึมเศร้า การทำหน้าเบื่อหน่ายตลอดเวลา
  2. กำหนดปริมาณงานที่ลูกน้องต้องทำ อย่าสั่งงานเหมือนลูกน้องเป็นหุ่นยนต์
  3. เป็นโล่ห์กำบังทีมของคุณ ปกป้องไม่ให้แรงกดดันตกมาสู่ลูกน้องมากเกินไป
  4. ให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการพักผ่อน ให้เห็นความสำคัญของการตัดจบงานในแต่ละวัน อย่าสร้างวัฒนธรรมในการเลิกงานสายกว่าเวลาปกติ
  5. ต้องให้ลูกน้องในทีม มีความสามารถในการควบคุมงานของตัวเอง กำหนดเป้าหมายระยะเวลาเครื่องมือ แต่ปัจจัยที่เหลือต้องให้ลูกน้องจัดการ
  6. เวลาลูกน้องทำอะไรที่ดีต้องชื่นชมหรือมีปฏิกริยาตอบกลับ
  7. ต้องมีการใช้เวลากับทีม ในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องงานบ้าง ไม่จำเป็นต้องคุยเรื่องงานตลอดเวลา
ถ้าพยายามแก้ไขแล้วยังคงมีอาการเบิร์นเอาท์อยู่ต้องทำอย่างไร
  1. งานไม่ใช่ทุกอย่างชีวิต ถ้าไม่เวิร์คให้หางานใหม่ อย่าปล่อยให้งานที่ไม่เหมาะกับตัวคุณทำลายชีวิตที่แสนสั้นของตัวคุณเอง
  2. พยายามดูแลตัวเอง และสภาพจิตใจของคนรอบข้างให้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น: