หนังสือ "ทำไม Netflix ถึงมีแต่คนโคตรเก่ง" โดยแพตตี้ แมคคอร์ด (Patty McCord) อดีตผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ร่วมเขียน Netflix Culture Deck อันโด่งดัง ชื่อหนังสือแปลจากภาษาอังกฤษว่า "Powerful"
ซึ่งแพตตี้เป็นคนที่เริ่มทำงานกับเน็ตฟลิกซ์มาตั้งแต่ก่อร้างสร้างตัวยังเป็นบริษัทสตาร์ตอัพเล็ก ๆ ตั้งแต่ปี 1997 เป็นระยะเวลา 14 ปี ก่อนที่เธอจะโดนปรับออก และเน็ตฟลิกซ์กลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างทุกวันนี้
เอาล่ะ เรามารู้จักเน็ตฟลิกซ์กันก่อน ปัจจุบันเน็ตฟลิกซ์คือแพลตฟอร์มในการให้บริการสตรีมอุตสาหกรรมบันเทิงยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ หนัง หรือสารคดี ผู้ใช้บริการอย่างผมจ่ายรายเดือนเดือนละ 420 บาท (คุ้มมาก)
ป.ล. ตอนนี้บริษัทมีสมาชิกรายเดือนประมาณ 151 ล้านรายจาก 191 ประเทศ
ถามว่าทำไมถึงกลายเป็นยักษ์ใหญ่ท่ามกลางการแข่งขันการอย่างสูงในปัจจุบัน วัฒนธรรมองค์กรของเน็ตฟลิกซ์นั้นก็มีความสำคัญมาก โดยแพตตี้คือคนหนึ่งที่เป็นผู้บุกเบิกและมาเล่าให้เราฟังถึงเกล็ดเล็กเกร็ดน้อยในการบริหารทรัพยากรบุคคลของเน็ตฟลิกซ์ในหนังสือเล่มนี้
ป.ล. ตอนนี้บริษัทมีสมาชิกรายเดือนประมาณ 151 ล้านรายจาก 191 ประเทศ
ถามว่าทำไมถึงกลายเป็นยักษ์ใหญ่ท่ามกลางการแข่งขันการอย่างสูงในปัจจุบัน วัฒนธรรมองค์กรของเน็ตฟลิกซ์นั้นก็มีความสำคัญมาก โดยแพตตี้คือคนหนึ่งที่เป็นผู้บุกเบิกและมาเล่าให้เราฟังถึงเกล็ดเล็กเกร็ดน้อยในการบริหารทรัพยากรบุคคลของเน็ตฟลิกซ์ในหนังสือเล่มนี้
เอาล่ะ มาดูกันว่า สารบัญของหนังสือเล่มนี้บอกอะไรเราบ้าง
- บทนำ วิถีการทำงานแบบใหม่ ปลูกฝังความีอิสระและความรับผิดชอบ เน็ตฟลิกซ์เริ่มเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานให้แตกต่างจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วไป ทั้งแนวปฏิบัติ ขั้นตอนการทำงาน ระบบงาน และรวมถึงแนวทางการตอบสนองและพูดกันอย่างตรงไปตรงมาด้วย
- บทที่หนึ่ง แรงจูงใจที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือการได้ร่วมทำให้สำเร็จ ปฏิบัติกับทุกคนแบบผู้ใหญ่ แรงจูงใจที่ทำให้ทุกคนทำงานไม่ใช่เงินเดือนที่สูง โบนัสครึ่งปี หรือแม้กระทั่งการมีสนามบอลให้เล่นในบริษัท แต่คือการทำงานสำเร็จให้ลุล่วงไปต่างหาก และอีกอย่างที่สำคัญคือ ทุกคนล้วนอยากทำงานกับคนเก่ง
- บทที่สอง พนักงานทุกคนควรเข้าใจธุรกิจที่ตัวเองทำ หมายความว่า ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงแม่บ้านเข้าใจว่าบริษัทเรากำลังทำอะไรกันอยู่ ส่วนไหนที่ทำกำไร ส่วนไหนที่ขาดทุน คุณมีส่วนช่วยในการทำให้บริษัททำกำไรได้อย่างไร
- บทที่สาม คนเราไม่ชอบให้ใครโกหกและปั่นหัว ต้องทำให้พนักงานทุกคนพูดความจริง เมื่อเกิดปัญหาต้องวิพากษ์วิจารณ์กันได้ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้เท่ากันทุกคน ไม่ต้องกลัวการพูดความจริง เพราะกลัวว่าจะโดนเกลียด
- บทที่สี่ การถกเถียงกันอย่างดุเดือด แน่นอนว่าหมายถึงให้ทุกคนโต้เถียงกันด้วยข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่เอาดราม่า ไม่เอาความรักความผูกพันมาเถียงกัน สิ่งนี้จะช่วยทำให้เราแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น
- บทที่ห้า สร้างบริษัท วันนี้ ให้เป็นบริษัทที่คุณอยากอยู่ในวันหน้า ให้คุณมองไปที่อนาคตเพื่อให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง เราต้องเตรียมคนไว้ให้พร้อมกับสถานการณ์ที่เข้ามา ไม่ใช่มีปัญหาแล้วค่อยแก้ไข สิ่งนี้จะช่วยทำให้บริษัทพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การมอบตำแหน่งให้คนในองค์กรเป็นเรื่องที่ดี แต่หากมีคนนอกที่ทำหน้าที่ได้ดีกว่าก็ควรจ้างคนนอกไปเลย หาคนที่พร้อม ไม่ใช่การพัฒนาเขาให้พร้อม มอบหมายเรื่องการพัฒนาตัวเองเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล
- บทที่หก บางคนก็เก่งไปเสียทุกงาน มอบหมายงานให้ถูกคน การที่เขาทำงานได้ไม่ดี ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เก่ง แต่หมายถึงเขาไม่เหมาะกับงาน เราจ้างเขามาทำงานที่ไม่เหมาะกับตัวเอง ไม่ใช่ความผิดเขาเลย การเชิญเขาออกเพื่อไปทำงานที่เหมาะสมกับเขาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช่เป็นภาระทั้งตัวเขาและบริษัทที่ต้องทำงานแทนในส่วนที่เขาทำได้ไม่มีประสิทธิภาพ
- บทที่เจ็ด จ่ายให้พนักงานตามค่าที่ คุณเห็นควร บทนี้พูดถึงเรื่องค่าตอบแทนพนักงาน มีตั้งแต่ค่าตอบแทนระหว่างเพศชายกับหญิง ค่าตอบแทนที่จ้างคนเก่งมาด้วยราคาที่สูงเกินไปหรือไม่ ระบบการประเมินผลงานกับการเลื่อนเงินเดือน ทำไมในทีมเดียวกันคนนี้ถึงเงินเดือนสูงกว่าคนอื่นถึงสองเท่า บทนี้มีคำตอบ
- บทที่แปด ศิลปะของการจากลาด้วยดี บริษัทที่ดีไม่ใช่บริษัทที่ทุกคนไม่ลาออก ไม่ย้ายงาน ไม่เปลี่ยนงานเลย แต่เป็นบริษัทที่ดีเมื่อคนเดินจากไปมากกว่า บางคนเหมาะกับการทำงานเมื่อบริษัทเพิ่งเริ่มต้น บางคนเหมาะเมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแล้ว หากมีตัวเลือกที่ดีกว่าให้เลือกที่จะเดินจากไปอย่างมีความสุข อย่าทำร้ายด้วยการรั้งกันไว้เลย
- บทสรุป ไม่ใช่ทุกองค์กรที่ทำอย่างนี้แล้วจะประสบความสำเร็จ ทุกอย่างมาจากการลองผิดลองถูก ว่าเหมาะกับองค์กรหรือไม่
อ่านแล้วก็คิดว่าตัวเองทำอะไรอยู่ งานที่ทำอยู่เหมาะกับตัวเองไหม เราพัฒนาตัวเองขนาดไหนแล้วหลังจากทำงานมาสี่ปี เราพอใจกับค่าตอบแทนไหม พอใจกับสิ่งที่ทำอยู่หรือไม่ ชอบบรรยากาศงานที่ทำอยู่หรือเปล่า แบบ เออ มันก็มีแต่คำว่า ไม่ ไม่ ไม่ ไปหมด ท้อแล้ว อย่างน้อยหลังจากอ่านหนังสือจบแล้วสัญญาว่าจะลงเรียนคอร์สออนไลน์ อ่านหนังสือให้มากขึ้น และที่สำคัญรักตัวเองให้มากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น